images (7).jpegวิธีการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ

            การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ ยาจะถูกดูดซึมเร็วเพราะมีเลือดมาเลี้ยงมาก แต่อาจจะเกิดอันตรายต่อเส้นประสาทหรือฉีดเข้าหลอดเลือดได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อเป็นเนื้อเยื่อที่ทนต่อการระคายเคืองได้ดี ยาที่มีความเหนียวข้น และระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ หรือมีส่วนผสมของน้ำมันก็สามารถฉีดเข้ากล้ามเนื้อได้

 

  1. หาบริเวณสำหรับฉีดยา

บริเวณสำหรับฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อมีดังนี้

  1. Dettoid muscle (กล้ามเนื้อต้นแขน)
  2. Gluteal muscle (กล้ามเนื้อสะโพก)

–          Ventrogluteal muscle (กล้ามเนื้อสะโพกส่วนหน้า)

–          Dorsogluteal muscle (กล้ามเนื้อสะโพกส่วนหลัง

  1. Vastus lateralis muscle (กล้ามเนื้อหน้าขา)

1.1    วิธีหาบริเวณฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อต้นแขน (Deltoid muscle)

บริเวณที่อยู่ต่ำกว่าขอบล่างของ acromion precess 2 นิ้ว เป็นบริเวณที่มีกล้ามเนื้อมาก ควรฉีดบริเวณส่วนกลางของกล้ามเนื้อ ซึ่งมีขอบเขตเป็นรูปสามเหลี่ยม



1.2    วิธีหาบริเวณฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อสะโพก (Glutens muscle)

วิธีที่ 1 แบ่งสะโพกออกเป็น 3 ส่วน

            ใช้ landmark 2 แท่ง คือ anterior superior iliac spine และ coccyx ลากเส้นสมมุติระหว่าง 2 จุด แบ่งเส้นสมมุติออกเป็น 3 ส่วนเท่า ๆ กัน  ตำแหน่งที่ฉีดยาได้คือส่วนแรกนับจาก anterior superior iliac spine โดยฉีดต่ำกว่าระดับของ iliac crest ประมาณ 2-3 นิ้วมือ

วิธีที่ 2 แบ่งสะโพกออกเป็น 4 ส่วน โดยมีขอบเขตดังนี้

–         ด้านบน มีขอบเขตตามแนวของ  iliac crest

–         ด้านล่าง มีขอบเขตตามแนวของก้นย้อย  (glutealfold)

–         ด้านใน (medial) มีขอบเขตตามแนวแบ่งครึ่งจากกระดูก Coccyx ขึ้นไปตามแนวแบ่งครึ่งของกระดูก sacrum

–         ด้านนอก (lateral) มีขอบเขตตามแนวด้านข้างของต้นขาและสะโพก

 

1.3    กล้ามเนื้อ Vastus lateralis (กล้ามเนื้อหน้าขา)

แบ่งหน้าขาตามความยาว (จาก greater trochanter ไปยัง lateral femoral condyle) ออกเป็น 3 ส่วน  ส่วนกลางเป็นส่วนที่เหมาะสมสำหรับฉีดยา

 

  1. ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะฉีดยาด้วยสำลีชุบอัลกอฮอล์ 70%  โดยหมุนออกจากจุดที่จะแทงเข็มให้เป็นวงกว้างประมาณ 2-3 นิ้ว ปล่อยให้อัลกอฮอล์แห้ง
  2. ถอดปลายเข็มออก จับกระบอกฉีดยาตั้งขึ้น ไล่อากาศโดยให้เหลืออากาศไว้ 0.2-0.3 cc.
  3. ดึงกระบอกฉีดยาด้วยมือข้างถนัด ส่วนมือข้างไม่ถนัดทำผิวหนังบริเวณฉีดยาให้ตึง โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้กางออกขณะกดลงบนผิวหนัง
  4. แทงเข็มด้วยความเร็วและมั่นคง แทงเข็มทำมุม 90 องศา
  5. ยึดหัวเข็มและกระบอกฉีดยาให้มั่นคง (ไม่โยกไปมา และไม่เลื่อนขึ้นลง) ด้วยมือข้างถนัด และใช้มือข้างถนัดดึงลูกสูบขึ้นเล็กน้อย เพื่อทดสอบว่าปลายเข็มอยู่ในหลอดเลือดหรือไม่
  6. ถ้าไม่มีเลือดเข้ามาในกระบอกฉีดยา ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือข้างถนัดดันลูกสูบเดินยาช้า ๆ (ถ้ามีเลือดเข้ามาในกระบอกฉีดให้ยกเลิกการฉีดยานั้น และเตรียมยาฉีดใหม่)
  7. เมื่อยาหมดแล้วให้ใช้สำลีกดตำแหน่งแทงเข็ม ขณะที่ถอนเข็มออกด้วยความรวดเร็ว
  8. คลึงบริเวณฉีดยาเบา ๆ เพื่อช่วยให้ยาดูดซึมได้เร็วขึ้นและลดอาการเจ็บปวดได้ด้วย (ยกเว้นยาที่มีส่วนประกอบของโลหะหนัก)
  9. ปลดเข็มออกจากกระบอกฉีดยา แยกเข็มฉีดยาทิ้งในชามรูปไต หรือภาชนะสำหรับทิ้งเข็มโดยเฉพาะเพื่อนำไปทำลายเข็มต่อไป
  10. จัดเสื้อผ้าผู้ป่วยให้เรียบร้อย และขัดให้อยู่ในท่าที่สบาย (ถ้าเป็นผู้ป่วยนอก ควรให้ผู้ป่วยพักเพื่อสังเกตอาการประมาณ 15 นาที
  11. ล้างมือให้สะอาด

 

หมายเหตุ :  จำนวนยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพก หรือหน้าขาแต่ละครั้งได้ไม่เกิน 5 cc. ถ้าฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขน ฉีดครั้งหนึ่งไม่เกิน 2 cc.

credit by http://www.thainurseclub.blogspot.com